ข่าวเศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้มีความหมายกับนักลงทุนฟอเร็กซ์อย่างไร?

สัปดาห์สำหรับการลงทุนสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้เทรดอย่างจริงจังมีข่าวและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มากมายเช่นการประชุมของสี่ธนาคารกลาง รายงานตัวเลขดัชนี PMI ของเดือนธันวาคม รายงานตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการจ้างงานด้วยสาเหตุนี้นักลงทุนจึงให้ความสนไปที่สกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกอย่างดอลลาร์สหรัฐว่าจะได้รับผลกระทบเช่นไรจากข่าวและเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาดอลลาร์ก็ยังคงถูกเทขายอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นสัปดาห์แห่งขาลงสี่สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนสาเหตุก็อย่างที่ทราบกันดีไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การเปลี่ยนไปถือสกุลเงินสำรองอื่น แม้จะมีภาพของการฉีดวัคซีนเข็มแรกของสหรัฐฯ เกิดขึ้นแล้วแต่ตลาดหุ้นกลับไม่ได้ดีใจตามที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์

การประชุมของธนาคารกหลางสหรัฐฯ (FED) ที่จะมีขึ้นภายในสัปดาห์นี้คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนมูลค่าลงมีข่าวลือถูกปล่อยออกมาอย่างหนาหูว่าภายในเวลาสองวันหลังจากการประชุมของเฟดจะมีการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมและจะยืดระยะเวลาในการซื้อบอนด์ด้วย เป็นไปได้ว่าเฟดอาจเลือกเปลี่ยนนโยบายมาดำเนินตามผลการประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะมุ่งเป้าไปที่การแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ นอกจากนี้แถลงการณ์ของประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์ถือว่ามีความสำคัญยิ่งและตลาดจะนำคำพูดของเขามาประกอบการพิจารณาด้วย ไม่มีใครหวังแล้วว่าเฟดจะเปลี่ยนแปลงตัวเลขอัตราดอกเบี้ยแต่การประเมินสถานการณ์ของการแจกจ่ายวัคซีนกับตัวเลขคนว่างงานของเฟดถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ดอลลาร์ที่ถูกเทขายอย่างหนักอาจจะกลับขึ้นมาได้ในระยะสั้นๆ ก่อนการประชุมเพราะจะมีการรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกที่เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นก่อนการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าตัวเลขยอดขายปลีกครั้งนี้อาจลดลงในแง่ของการออกไปซื้อของตามห้างร้านและจะเพิ่มขึ้นในแง่ของการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ ตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างที่จะลืมไม่ได้เลยคือข่าวความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
นอกเหนือจากการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของอเมริกาแล้ว การรายงานตัวเลขของประเทศอื่นๆ ก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กันสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์ก็จะมีการประกาศนโยบายทางการเงินด้วย การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) อาจไม่สร้างความเคลื่อนไหวให้กับตลาดมากนัก แต่ผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจมีอิทธิพลอย่างมากต่อทิศทางของสกุลเงินปอนด์แม้จะมีการเลื่อนการเจรจาเกี่ยว Brexit ออกมาอีกแต่สกุลเงินปอนด์ถือว่าแข็งค่าที่สุดในตลาดเมื่อคืนนี้ BoE ยังคงหวังว่าจะได้รับข่าวดีจากการประชุมตราบใดที่ยังไม่มีข่าวออกมาฟันธงเกี่ยวกับผลการเจรจาอย่างเป็นทางการ ส่วนการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจสกุลเงินปอนด์เองก็ถือว่ามีข่าวเยอะไม่แพ้กับของสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็นการรายงานตัวเลขดัชนี PMI อัตราเงินเฟ้อ การจ้างงานและตัวเลขยอดขายปลีก

กราฟยูโรเทียบดอลลาร์ปรับตัวกลับขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดในรอบสองปีครึ่งได้อีกครั้งเมื่อรายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนออกมาดีและดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าในสัปดาห์นี้ฝั่งยูโรโซนยังมีข่าวที่สำคัญอย่างการรายงานตัวเลขดัชนี PMI ของยูโรโซนและตัวเลขจาก IFO ของเยอรมันให้ได้ติดตาม การล็อกดาวน์ในเดือนพฤศจิกายนอาจทำให้ตัวเลข PMI หดตัวแต่ตัวเลขจาก IFO อาจเพิ่มขึ้นขานรับวัคซีนต้านโควิด แต่ต่อให้ดีขึ้นอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนใจรัฐบาลเยอรมันที่ตัดสินใจขยายระยะเวลาล็อกดาวน์ออกไปจนถึงวันที่ 10 มกราคม 2021 ก่อนหน้านี้รัฐบาลเยอรมันได้พยายามอย่างสุดกำลังแล้วในการควบคุมโควิดให้ได้ก่อนคริสต์มาสแต่เพราะยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่และยอดผู้เสียชีวิตไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญพอจึงทำให้รัฐบาลตัดสินใจขยายระยะเวลาการล็อกดาวน์ออกไป ยอดผู้เสียชีวิตที่อิตาลีตอนนี้มีโอกาสแซงหน้าสหราชอาณาจักรแล้ว

สกุลเงินอื่นๆ ก็มีข่าวสำคัญให้จับตามองอยู่บ้างอย่างเช่นออสเตรเลียจะมีรายงานตัวเลขการจ้างงาน นิวซีแลนด์จะมีการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 และแคนาดาจะมีรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั้งสามสกุลเงินเมื่อวานนี้ยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเราหวังว่ารายงานตัวเลขเหล่านี้จะช่วยให้ทั้งสามสกุลเงินยังยืนหยัดสู้กับดอลลาร์ต่อไปได้ การกลับมาเปิดเมืองวิคตอเรียอีกครั้งของออสเตรเลียน่าจะทำให้ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้น นิวซีแลนด์ที่ทำผลงานควบคุมโควิดได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้นการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สามจึงไม่น่าต้องเป็นกังวลอะไร อัตราเงินเฟ้อของแคนาดาคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นตามรายงานตัวเลขดัชนี PMI ของ IVEY ครั้งล่าสุด