มุมมองของ Ray Dalio กลางปี 2019 กับชุดความคิดที่อาจเปลี่ยนไป

เริ่มต้นเลย เรย์กล่าวก่อนว่า พลังหรือแรงหนุนหลักนับตั้งแต่ปี 2009 ที่ผ่านมานั้นประกอบไปด้วย

1.ธนาคารกลางที่ลดอัตราดอกเบี้ยลง ไปพร้อมๆ กับการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ในปริมาณมากนับตั้งแต่ปี 2009 มา ซึ่งเป็นการช่วยผลักดันราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกมาอย่างยาวนานทั้งทางตรงในแง่ของการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ของธนาคารกลางเอง

และทางอ้อม ในแง่ของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ช่วยหนุนให้ P/E ของหุ้นปรับตัวขึ้น

จากความน่าสนใจของหุ้นที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้หรือเงินสดที่ให้อัตราผลตอบแทนลดลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นควบคู่กันไป ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ก็ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(อัตราดอกเบี้ย - อัตราเงินเฟ้อ) ลดลงไปอีก

ซึ่งก็เป็นแรงผลักดันให้สินทรัพย์อื่นๆ ที่มีความสามารถในการป้องกันอัตราเงินเฟ้อ เช่นทองคำดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นมา ก็ยิ่งเป็นการผลักดันราคาทองคำในอนาคต

2. ซึ่งในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำนี่เอง ก็เป็นการหนุนให้เกิดการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจำนวนมาก เนื่องจากการเก็บเงินสดที่อัตราผลตอบแทนแพ้อัตราเงินเฟ้อนั้น เป็นอะไรที่ไม่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยค่ำแล้ว ก็เท่ากับว่าต้นทุนการกู้ยืมต่ำลงด้วย ทำให้เกิดการควบรวมบริษัท, การลงทุนในลักษณะ Venture Capital และการลงทุนในกองทุนรวมส่วนบุคคล เพิ่มมากขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็เป็นการผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ข้นไปอย่างต่อเนื่อง

3.เมื่อประกอบกับกระแสการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานที่ช่วยเพิ่ม Productivity ได้อย่างมาก และ กระแส Globalization ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ ประหยัดต้นทุนด้านแรงงานลงได้มากโข ก็ก่อให้เกิดการขยายตัวของอัตรากำไรขึ้นอย่างรวดเร็ว

ซึ่งหากมองในแง่ของธุรกิจ และการลงทุนแล้วย่อมเป็นเรื่องดี

แต่ในแง่ของความเท่าเทียมด้านรายได้นั้น อาจไม่เป็นเรื่องที่น่าพิศมัยนัก

เนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว ค่าจ้างแรงงานที่ลดลงและการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนนั้น ก็เท่ากับว่าความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งกว้างมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรายได้ถูกกระจายออกไปน้อยลง ซึ่งจุดของเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งนี่เอง ที่เป็นจุดที่เรย์ พูดเสมอมาว่าต้องระวัง

4.การลดภาษีนิติบุคคล เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรของบริษัทต่างๆ เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นการผลักดันราคาหุ้นเหล่านั้นอีกทางหนึ่ง

แตก็ต้องไม่ลืมไปว่าการปรับลดภาษีนิติบุคคลนี้ ก็อาจจะถูกแก้ไข หรือปรับเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน หากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งทีกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

ซึ่งเรย์นั้นมองว่าสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิด Paradigm Shifts ได้ก็คือ
1.การที่เครื่องมือธนาคารกลางเริ่มหมดประสิทธิภาพในการหนุนเศรษฐกิจ
2.มีปริมาณหนี้สิน และภาระผูกพันที่ไม่ใช่หนี้สิน (เช่นกองทุนบำเหน็จบำนาญ และสวัสดิการด้านสุขภาพต่างๆ ของรัฐ) เป็นจำนวนมากครบกำหนดต้องชำระคืน แต่ด้วยอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ต่ำเตี้ย ทำให้ยากที่จะชำระคืนได้ตามตั้งใจเอาไว้ และก่อให้เกิดภาวะบีบคั้นด้านการเงินครั้งใหญ่

เมื่อประกอบกันก็จะกลายเป็นภาวะที่
1.ความมั่งคั่งที่แตกต่างกันมากขึ้น จะมีกลุ่มผู้ที่หวังจะใช้ภาระผูกพันเหล่านั้นในการดำเนินชีวิตมากขึ้น
2.เมื่อภาระผูกพันเหล่านั้น มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถทำได้ตามสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐ ก็เร่งให้เกิดความโกรธแค้นหรือไม่พอใจ
3.ขณะที่รัฐเองก็จะพยายามที่จะดำเนินนโยบายแบบขาดดุล (กู้) เพิ่มเติมครั้งมโหฬาร เพื่อทำตามสัญญานั้นๆ
4. เมื่อกู้ได้ไม่พอลูกหนี้ หรือ รัฐ ก็จะพยายามปรับขึ้นภาษี เพื่อนำเงินมาทำตามสัญญา
5.โดยที่ธนาคารกลางเองก็ช่วยอะไรได้ไม่มากนัก เพราะเครื่องมือด้อยประสิทธิภาพลงไปทุกที จึงทำได้เพียงพิมพ์เงินเพิ่มมากขึ้นอีก เพื่อให้รัฐบาลมาชำหระหนี้เหล่านั้น (เหมือนปัจจุบันนี้) หรือนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
6. ซึ่งแน่นอนว่าการจะพิมพ์เงินออกมาได้น้ัน ก็ต้องกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำเสียก่อน เพื่อลดต้นทุนทางการเงินของลูกหนี้ตรงนี้ ซึ่งก็คือรัฐนั่นเอง

และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เรยมองว่า Paradigm ใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้น

ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการแปลงหนี้สินก้อนมโหฬารที่สร้างขึ้นนั้นให้กลายเป็นทุน หรือ เกิดการเติบโตต่อไปนั่นเอง

ซึ่งหากทำได้ดีอาจจะเกิดแนวการลงทุนแบบใหม่ กลายเป็นวัฎจักรทางเศรษฐกิจแบบใหม่ขึ้นอีกครั้งเหมือนที่แล้วๆ มาในอดีต แต่หากทำได้ไม่ดี ก็ยากที่จะคาดเดาได้ต่อไป

แต่สิ่งหนึ่งที่เรย์เชื่อว่าจะได้เห็นก็คือ
ดอลลาร์จะอ่อนค่าลง
จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ จนอาจจะแพ้อัตราเงินเฟ้อ ทำให้เงินในสกุลนั้นๆ ไม่น่าสนใจโดยธรรมชาติ
จากภาวะขาดดุลทางการคลังจำนวนมหาศาล
จากความไม่มั่นคงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น
ประกอบกับความพยายามลดค่าเงินในตนเอง เพื่อให้ได้ดุลทางการค้ามากขึ้น
ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว มุมมองของเรย์เมื่อกลางปี 2019 ก็คือ
ทองยังเป็นอะไรที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับภาวะเช่นนี้อยู่ดี

# แอดลุง

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ AKN Blog